เรื่องราวปัญหาของระหว่างหัวหน้าและลูกน้อง
มีไม่เว้นแต่ละวันครับ ผมเองมีแต่คนมาปรึกษาขอคำแนะนำ
เรื่องการจัดการคนทุกวันครับ เช่นเดียวกับวันนี้ 555
วันนี้มีหัวหน้างานรุ่นใหม่
ท่านหนึ่งมานั่งคุยกับผม เขาติดปัญหาที่ต้องขึ้นมาบังคับบัญชาลูกน้องที่มีอายุมากกว่า
และมีอายุงานมากกว่า
ก็เรียกว่าอยู่ทำงานมานาน เก่งงาน
เก๋าเกม ประมาณนั้นครับ
ยากไหมครับโจทย์ข้อนี้ ผมเองก็เคยมีลูกน้องที่อายุมากกว่า
(ย้ำว่ามากด้วย) แต่ก็สามารถดูแลจัดการเขาได้
ผมแบ่งปันน้องเขา ดังนี้ครับ
อันดับแรกเราต้องเข้าใจก่อนว่า
การมีอายุมากหรือน้อยกว่ากัน ไม่ใช่เรื่องที่น่าหนักใจ บางคนมีความเป็นเด็กอยู่ในตัวผู้ใหญ่
,บางคนมีความเป็นผู้ใหญ่มากกว่าวัย
และบางคนก็มีความเป็นผู้ใหญ่สมวัย
แล้วคำว่า “ผู้ใหญ่” ในที่นี้เราวัดจากอะไร => จากประสบการณ์ส่วนตัว
ผมวัดจากความคิดและพฤติกรรมครับ คนที่มีความรับผิดชอบและวินัยดี ถือมีพฤติกรรมที่เป็นผู้ใหญ่ ยิ่งผนวกกับมีมุมมองความคิดที่ดี ทั้งทัศนคติ
,วิสัยทัศน์(คิดการณ์ไกล) ,ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ยิ่งเพิ่มน้ำหนักในความเป็นผู้ใหญ่ในตัวมากขึ้น
ดังนั้น ถ้าเรามีลูกน้องที่อายุมากกว่า
เราจะต้องมีพฤติกรรมและความคิดที่ดี ให้มากกว่า หรือทัดเทียมกับลูกน้องของเรา ถึงแม้ว่าเราจะไม่เก่งงานเท่าเขาก็ไม่เป็นไร ข้อนี้คือสิ่งแรกที่เราต้องทำ
เพื่อให้เขายอมรับ ถ้าหากเขามีความรับผิดชอบ ทุ่มเท ขยัน มากแค่ไหน เราก็ต้องไม่น้อยกว่า
และ พยายามทำให้มากกว่าให้ได้ครับ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี
ข้อที่สอง คือ เราต้องเป็นที่พึ่งของเขาให้ได้ หมายความว่า
เราต้องพยายามเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาให้ลูกน้องให้ทันต่อสถานการณ์และต้องกล้าตัดสินใจอย่างรวดเร็ว เด็ดขาด ลูกน้องหลายคนไม่ยอมรับหัวหน้าที่อายุน้อยกว่าหรือหัวหน้างานรุ่นใหม่
เพราะไม่แน่ใจว่าคนเหล่านี้จะช่วยแก้ปัญหาให้เขาได้
ดังนั้นเราจึงจะต้องพยายามช่วยเขาป้องกันและแก้ปัญหาในงานให้ได้
ลูกน้องคนไหนไม่เก่งก็ต้องพยายามช่วยสอนและพัฒนาครับ
และข้อสุดท้าย ข้อนี้สำคัญมากในการดูแลลูกน้องที่อายุมากกว่า
คือ “การให้เกียรติ” ต้องพูดจาและแสดงท่าทางต่อเขาอย่างให้เกียรติ
ให้เขามีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นเพื่อพัฒนาทีมงาน เราสามารถเรียกเขาว่า “พี่” ได้ แต่เราต้องไม่พยายามทำตัวเป็นน้องนะ
เราต้องแสดงบทบาทการเป็น “หัวหน้าของพี่”
นี่เป็นหลักการที่ผมแบ่งปันให้หัวหน้างานรุ่นใหม่
ซึ่งเกิดแนวทางที่ผมได้ใช้ในการบริหารจัดการทีมงานแล้วได้ผลสำเร็จ
ทุกวันนี้เหล่าลูกน้องที่อายุมากกว่าผมยังเรียกผมว่า “หัวหน้าบอมส์”
ถึงแม้ว่าปัจจุบันเราจะไม่ได้ทำงานด้วยกันแล้วก็ตาม แต่นี่คือความภูมิใจเล็กๆของผมนะ ลองนำหลักการทั้ง 3 ข้อนี้ไปประยุกต์ใช้ดูครับ
ในการพัฒนาตนเองหรือพัฒนาหัวหน้างานของเรา
ผมเชื่อว่าน่าจะเป็นประโยชน์แน่นอนครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น